วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

6 กรอบความคิดเพื่อการตัดสินใจ


   เราทุกคนรวมทั้งองค์กรทุกแห่ง ล้วนจะต้องตัดสินใจในเรื่องบางอย่าง ทว่าการตัดสินใจมักจะต้องเจอกับปัญหา และการไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยสำคัญต่างๆ ย่อมผลกระทบรอบด้าน แต่จากนี้การตัดสินใจของคุณจะไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไป "เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน" กูรูด้านการคิดนอกกรอบ และผู้คิดค้นแนวคิด เรื่อง Six Thinking Hats ได้นำเสนอกรอบความคิดแบบ "เหรียญแห่งคุณค่าทั้ง 6 รูปแบบ" หรือ "Six Value Medals" โดยกรอบความคิดนี้ประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ 6 ประการ ซึ่งเมื่อคุณพิจารณาคุณค่าและผลกระทบด้านต่างๆ ตามกรอบความคิดแต่ละด้าน การตัดสินใจของคุณก็จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
 Value Innovations ซึ่งเหรียญคุณค่าทั้ง 6 แบบ ประกอบด้วย
1. เหรียญทอง           :   คุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์
2. เหรียญเงิน            :   คุณค่าขององค์กร
3. เหรียญเหล็ก          :   คุณค่าด้านคุณภาพ
4. เหรียญแก้ว            :   คุณค่าด้านนวัตกรรม
5. เหรียญไม้              :   คุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม
6. เหรียญทองเหลือง    :   คุณค่าด้านภาพพจน์

Six thinking hats คืออะไร?...


Six thinking hats  คือ  เทคนิคการคิดอย่างมีระบบ  คิดอย่างมีโฟกัส มีการจำแนกความคิดออกเป็นด้าน ๆ และคิดอย่างมีคุณภาพ  เพื่อช่วยจัดระเบียบการคิด  ทำให้การคิดมีประสิทธิภาพมากขึ้น  แนวคิดหลัก  "การคิด"  เป็นทักษะช่วยดึงเอาความรู้และประสบการณ์ของผู้คิดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ทักษะความคิดจึงมีความสำคัญที่สุด...
           1. หมวกสีขาว (White Hat)
                หมายถึง  ข้อมูลเบื้องต้นของสิ่งนั้น เป็นความคิดแบบไม่ใช้อารมณ์และมีเป้าประสงค์ที่ชัดเจนแน่นอน ตรงไปตรงมา ไม่ต้องการความคิดเห็น สีขาวเป็นสีที่ชี้ให้เห็นถึงความเป็นกลาง จึงเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง จำนวนตัวเลข เมื่อสวมหมวกสีนี้  จะหมายความว่าที่ประชุมต้องการข้อเท็จจริงเท่านั้น โดยปกติเรามักจะใช้หมวกขาวตอนเริ่มต้นของกระบวนการคิดเพื่อเป็นพื้นฐานของความคิดที่กำลังจะเกิดขึ้น  แต่เราก็ใช้หมวกขาวในตอนท้ายของกระบวนการได้เหมือนกัน เพื่อทำการประเมิน อย่างเช่นข้อเสนอโครงการต่าง ๆ ของเราเหมาะสมกับข้อมูลที่มีอยู่หรือไม่...
                เป็นตัวแทนของข้อเท็จจริง  ซึ่งได้แก่  ตัวเลขและข้อมูลต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ในการวิเคราะห์  เพื่อหาข้อสรุปโดยไม่คำนึงถึงทัศนคติหรือความคิดเห็นใด ๆ
           2. หมวกสีแดง (Red Hat)
                หมายถึง  ความรู้สึกสัญชาตญาณและลางสังหรณ์  เมื่อสวมหมวกสีนี้  เราสามารถบอกความรู้สึกของตนเองว่าชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี มีการใช้อารมณ์ ความคิดเชิงอารมณ์ ซึ่งส่วนใหญ่การแสดงอารมณ์จะไม่มีเหตุผลประกอบ หรือการตระหนักรู้ โดยฉับพลัน นั่นก็คือ เรื่องบางเรื่องที่เคยเข้าใจในแบบหนึ่ง อยู่ ๆ ก็เกิดเข้าใจในอีกแง่มุมหนึ่ง ซึ่งการตระหนักรู้แบบนี้จะทำให้เกิดงานสร้างสรรค์ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ หรือวิธีคิดทางคณิตศาสตร์แบบก้าวกระโดด ความคิดความเข้าใจในสถานการณ์โดยทันที เป็นผลจาการใคร่ครวญอันซับซ้อนที่มีพื้นฐานจากประสบการณ์ เป็นการตัดสินใจที่ไม่อาจให้รายละเอียดหรืออธิบายได้ด้วยคำพูด เช่นเวลาที่คุณจำเพื่อนคนหนึ่งได้ คุณก็จำได้ในทันที
                 เป็นตัวแทนของอารมณ์และความรู้สึกที่มีต่อเรื่องราวนั้น ๆ โดยไม่จำเป็นต้องอธิบายเหตุผลใด ๆ...
           3.  หมวกสีดำ (Black Hat)
                 หมายถึง  ข้อควรคำนึงถึงสิ่งที่ทำให้เราเห็นว่า เราไม่ควรทำ เป็นการคิดในเชิงระมัดระวัง หมวกสีดำ เป็นหมวกคิดที่เป็นธรรมชาติและสอดคล้องกับวิธีการคิดของตะวันตกมาก หมวกสีดำช่วยชี้ให้เราเห็นว่าสิ่งใดผิด สิ่งใดไม่สอดคล้องและสิ่งใดใช้ไม่ได้ มันช่วยปกป้องเราจาการเสียเงินและพลังงาน ช่วยป้องกันไม่ให้เราทำอะไรอย่างโง่เขลาเบาปัญญาและผิดกฎหมาย หมวกสีดำ เป็นหมวกคิดที่มีเหตุมีผลเสมอ เพราะในการวิพากษ์วิจารณ์หรือวิเคราะห์สิ่งใดจะต้องมีการคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลรองรับ ไม่มีอารมณ์มาเกี่ยวข้อง ในการประเมินสถานการณ์ในอนาคตของเรานั้น ต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของเราเองและของผู้อื่นด้วย
                 เป็นตัวแทนของความระมัดระวัง  ซึ่งจำเป็นต้องไตร่ครองและยับยั้งการดำเนินการ ถ้าอาจทำให้ความเสียหายหรือล้มเหลวได้ ผู้บริหารจะใช้หมวกสีดำเพื่อพิจารณาว่าสิ่งที่จะทำนั้นเหมาะสมกับประสบการณ์และมโนธรรมที่เคยมีมา
           4.  หมวกสีเหลือง (Yellow Hat)
                 หมายถึง  การคาดการณ์ในทางบวก  ความคิดเชิงบวก เป็นการมองโลกในแง่ดี การมองที่เป็นประโยชน์  เป็นการคิดที่ก่อให้เกิดผล หรือทำให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ การคิดเชิงบวกเป็นการเปิดโอกาสให้พัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ความคิดเชิงลบอาจป้องกันเราจากความผิดพลาด ความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น การคิดเชิงบวกต้องผสมผสานความสงสัยใคร่รู้ ความสุข ความต้องการและความกระหายที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นหรือไม่
                 เป็นตัวแทนของการแสงหาทางเลือกอย่างมีความหวัง พร้อมทั้งทดลองปฏิบัติเพื่อหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจ  
           5.  หมวกสีเขียว (Green Hat)
                 หมายถึง  ความคิดนอกกรอบที่มีความสัมพันธ์กับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงแนวคิดและมุมมองซึ่งปกติมักถูกกำหนดจากระบบความคิดของประสบการณ์ดั้งเดิมและความคิดนอกกรอบนั้นจะอาศัยข้อมูลจากระบบของตัวเราเอง โดยเมื่อสวมหมวกสีนี้ จะแสดงความคิดใหม่ ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น การคิดอย่างสร้างสรรค์
                 เป็นตัวแทนของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ซึ่งเปรียบเสมือนต้นไม้ที่ให้ความสดชื่น ผู้บริหารจะใช้หมวกสีนี้เมื่อมีความคิดใหม่ ๆ แตกต่างจากแนวทางเดิม เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้กับการปรับปรุง สร้างสรรค์และพัฒนา
           6.  หมวกสีน้ำเงิน (Blue Hat)...บางตำรา เรียกว่า "หมวกสีฟ้า"...
                 หมายถึง การควบคุมและการบริหารกระบวนการ การคิดเพื่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่องของความคิดรวบยอด ข้อสรุป การยุติข้อขัดแย้ง การมองเห็นภาพและการดำเนินการที่มีขั้นตอนเป็นระบบ เมื่อมีการใช้หมวกน้ำเงิน หมายถึง ต้องการให้มีการควบคุมสิ่งต่าง ๆ ให้อยู่ในระบบระเบียบที่ดีและถูกต้องหมวกสีน้ำเงินมักเป็นบทบาทของหัวหน้า ทำหน้าที่ควบคุมบทบาทของสมาชิก ควบคุมการดำเนินการประชุม การอภิปราย การทำงาน ควบคุมการใช้กระบวนการคิด การสรุปผล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ อย่างไรก็ตามสมาชิก ก็สามารถสวมหมวกสีน้ำเงิน ควบคุมบทบาทของหัวหน้าได้เช่นกัน

                  เป็นตัวแทนของการควบคุมความคิดทั้งหมดหรือมุมมองในทางกว้างที่ครอบคลุมทุกสรรพสิ่งซึ่งเปรียบเหมือนท้องฟ้า ผู้บริหารที่ใช้หมวกนี้จะต้องอาศัยประสบการณ์เป็นอย่างมาก       

Six Action Shoes ???



กลยุทธ์รองเท้า 6 สี หรือ Six Action Shoes ของผู้ชาย และ กลยุทธ์รองเท้า 6 สี ของผู้หญิง
เรามาดูกลยุทธ์รองเท้า 6 สี หรือ Six Action Shoes  ของผู้ชายซึ่ง มีดังนี้
1. รองเท้าสีน้ำเงิน  (ทำไปตามกฎเกณฑ์ และขั้นตอน)
2. รองเท้าสีเทา (สำรวจหาข้อมูล เพื่อตัดสินใจก่อน) บางครั้งไม่แน่ใจก็ค้นหาข้อมูลก่อน เช่นคนทำวิจัยก็ดูงานของคนอื่นมากก่อน
3. รองเท้าสีน้ำตาล  (ทำเลย ลุยเลย เสี่ยงไปก่อน แต่ยืดหยุ่น) อันนี้คล้ายๆผู้ประกอบการ
4. รองเท้าสีส้ม (คล้ายๆนักผจญเพลิง เป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้า)
5.รองเท้าสีชมพู (ต้องให้การเอาใจใส่ ดูแล สนใจความรู้สึกก่อน)
6. รองเท้าสีม่วง (ใช้อำนาจตามตำแหน่ง หรือสายบังคับบัญชา หรือภาวะผู้นำแบบทางการ)

 สรุป: จุดร่วมของกลยุทธ์รองเท้า 6 สี หรือ Six Action Shoes ของผู้ชาย และ ผู้หญิงที่เราได้จากการทำ World Cafe' มีดังนี้

จุดร่วมของกลยุทธ์รองเท้า 6 สี ของผู้หญิง คือ

รองเท้าสีชมพู : ผู้หญิงชอบการดูแล เอาใจใส่ และใส่ใจต่อความรู้สึก 
รองเท้าสีเทา : ผู้หญิงเป็นคนละเอียดละออ ชอบหาข้อมูลก่อนการตัดสินใจเสมอ
รองเท้าสีน้ำตาล : ผู้หญิงเป็นผู้ที่ชอบเสี่ยงทำอะไรก่อน และพร้อมรับความเสี่ยงด้วย


จุดร่วมของกลยุทธ์รองเท้า 6 สี ของผู้ชาย คือ

รองเท้าสีน้ำเงิน : ชอบที่จะทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย อยู่เสมอ 
รองเท้าสีน้ำตาล : ชอบทำอะไรแบบลุยๆ ไปก่อน แล้วพร้อมรับความเสี่ยงเสมอ


 
ดังนั้นจุดร่วมของกลยุทธ์รองเท้า 6 สี ของผู้ชาย และผู้หญิง คือ

     รองเท้าสีน้ำตาล นั่นเองครับ ก็เพราะว่าผู้หญิงและผู้ชาย นั้นชอบทำอะไรแบบ ลุยๆเหมือนกัน

วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

5 นวัตกรรมเปลี่ยนโลก ใน 5 ปีข้างหน้า…ที่แท้ก็เลียนแบบมนุษย์เรา !!

ไอบีเอ็มเผย 5 นวัตกรรมล้ำยุค ที่คาดว่าจะเปลี่ยนแปลงชีวิตของคนเรารวมถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ ใน 5 ปีข้างหน้า “นางพรรณสิรี  อมาตยกุล” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด   กล่าวว่า  ไอบีเอ็มได้คิดค้นนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อช่วยสร้างสรรค์โลกให้ฉลาดขึ้นภายใต้แนวคิด “สมาร์ทเตอร์ แพลนเน็ต” (Smarter Planet) มาอย่างต่อเนื่องจากผลงานวิจัยในห้องทดลองของไอบีเอ็มทั่วโลก ซึ่งจะมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเหล่านี้ให้กลายเป็นจริงได้
โดยล่าสุดไอบีเอ็มได้เปิดเผย 5 นวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตของคนเราในอีก 5 ปีข้างหน้า  หรือ ไอบีเอ็ม ไฟว์ อิน ไฟว์   (IBM Five in Five)
นวัตกรรมแรกคือ  “มนุษย์สามารถสร้างพลังงานมาใช้ได้เอง” ซึ่งการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน วิ่ง ขี่จักรยาน และสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรา เช่นความร้อนจากคอมพิวเตอร์ก็สามารถสร้างพลังงานได้ และสามารถที่จะเก็บรวบรวมมาใช้งานภายในบ้าน สถานที่ทำงาน และเมืองต่าง ๆ โดยนักวิทยาศาสตร์ของไอบีเอ็มในไอร์แลนด์กำลังศึกษาวิธีการแปลงพลังงานคลื่น ในมหาสมุทรให้กลายเป็นกระแสไฟฟ้าและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
นวัตกรรมที่ 2 ก็คือ “มนุษย์จะใช้เสียงพูด ใบหน้าและดวงตาแทนรหัสผ่านได้” โดยในอนาคตเราจะไม่ต้องใช้รหัสผ่านอีกต่อไป เพราะข้อมูลทางไบโอเมตริก (Biometric) เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับเค้าโครงใบหน้า การสแกนม่านตา และไฟล์เสียงพูด จะถูกประกอบเข้าด้วยกันผ่านทางซอฟต์แวร์ เพื่อสร้างรหัสผ่านออนไลน์ เราจึงสามารถเดินไปที่ตู้เอทีเอ็มเพื่อถอนเงินอย่างปลอดภัย โดยเพียงแค่พูดชื่อหรือมองเข้าไปในเซ็นเซอร์ขนาดเล็กที่สามารถรับรู้ความแตก ต่างในม่านตาของแต่ละคน
ส่วนนวัตกรรมที่ 3 คือ “มนุษย์สามารถใช้สมองสั่งงานแล็ปท็อปและโทรศัพท์มือถือได้” การอ่านใจจะไม่ใช่เรื่องที่พบเห็นได้เฉพาะในนิยายวิทยาศาสตร์อีกต่อไป ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ของไอบีเอ็มในสาขาวิชาชีวสารสนเทศ หรือไบโออินฟอเมติกส์ (Bioinformatics) กำลังทำการค้นคว้าวิธีการเชื่อมโยงสมองของคนเข้ากับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟน รวมถึงการออกแบบชุดหูฟังที่มีเซ็นเซอร์พิเศษสำหรับอ่านคลื่นไฟฟ้าสมอง รวมถึงสีหน้า ระดับความตื่นเต้น การมีสมาธิจดจ่อ และความคิดของบุคคล โดยที่บุคคลนั้นไม่จำเป็นต้องขยับร่างกาย
ภายใน 5 ปีข้างหน้าเราจะเริ่มเห็นการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีนี้ในอุต สาหกรรมเกมและความบันเทิง  รวมถึงวงการแพทย์เพื่อทดสอบแบบแผนของสมอง และอาจช่วยในการฟื้นฟูผู้ป่วยที่เกิดภาวะเส้นเลือดสมองแตก และช่วยในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับความผิดปกติของสมอง เช่น โรคสมาธิสั้น ได้อีกด้วย
สำหรับนวัตกรรมที่ 4  คือ “ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้ทุกที่ทุกเวลาด้วยเทคโนโลยีโมบาย”โดยในช่วง 5 ปีนับจากนี้ ช่องว่างระหว่างผู้ที่มีข้อมูลและผู้ที่ไม่มีข้อมูลจะลดลงอย่างมาก เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีโมบายอย่างเช่น ในอินเดียที่ไอบีเอ็มใช้เทคโนโลยีเสียงพูดและอุปกรณ์พกพาเพื่อช่วยให้ชาว ชนบทที่ไม่รู้หนังสือสามารถถ่ายทอดข้อมูลผ่านทางข้อความที่บันทึกไว้ใน โทรศัพท์  และการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่น การช่วยให้คนเหล่านี้สามารถตรวจสอบรายงานสภาพอากาศ รู้ว่าจะมีแพทย์เดินทางเข้ามาในเมืองเมื่อไร และยังสามารถตรวจสอบระดับราคารับซื้อที่ดีที่สุดสำหรับพืชผลทางการเกษตร
และนวัตกรรมที่ 5 คือ “คอมพิวเตอร์จะช่วยคัดกรองและแจ้งข้อมูลสำคัญที่สอดคล้องกับความต้องการของ เรา” ซึ่งในอีก 5 ปีข้างหน้า โฆษณาที่ไม่พึงประสงค์ อาจมีลักษณะสอดคล้องกับความต้องการของผู้รับอย่างมาก ทั้งนี้ไอบีเอ็มกำลังพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้ระบบวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ เพื่อกลั่นกรองและผนวกรวมข้อมูลจากทุกแง่มุมของชีวิต ตั้งแต่ข่าวสารไปจนถึงกีฬาและการเมือง
เทคโนโลยีจะรู้ว่าผู้รับชื่นชอบและต้องการอะไร เพื่อนำเสนอและแนะนำข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ตรงใจ ทำให้ต่อไปตั๋วคอน เสิร์ตของวงดนตรีที่ชอบจะถูกจองไว้ให้ทันทีที่เปิดขาย และจะสามารถซื้อตั๋วนั้นได้ทันทีจากอุปกรณ์พกพา.

10 สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมของไทย ปี 2555



 “10 สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมแห่งปี” ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช.
เพื่อเป็นตัวอย่างในการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมของภาคเอกชน และเป็นแนวโน้มของธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพในประเทศไทย โดยพิจารณาจากผลงานมีความโดดเด่นด้าน “ความใหม่ เทคโนโลยี และ การตลาด” ตลอดจนเป็นธุรกิจที่สังคมให้ความสนใจ 


ในปีนี้ทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์การมหาชน) ได้สนับสนุนโครงการนวัตกรรมทั้งหมด 260 โครงการ วงเงินกว่า 120 ล้านบาท ซึ่งจัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 8 สำหรับ 10 สุดยอดนวัตกรรมที่ได้จัดลำดับ จะเลือกจากความใหม่ของธุรกิจ เทคโนโลยีที่โดดเด่นและการตลาดที่ส่งเสริมให้เกิดการตื่นตัวด้านนวัตกรรมในประเทศ ซึ่งแนวโน้มปีนี้เป็น Theme เรื่องของสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
สำหรับ 10 สุดยอดนวัตกรรมประจำปี 2555 ได้แก่



อันดับที่หนึ่ง ก็คือ “ไบโอเวกกี้” วิตามินรวมจากผักเมืองหนาว ผลงานของบริษัท เชียงใหม่ ไบโอเวกกี้ จํากัด ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทวิตามินรวม ที่นำผักสด 12 ชนิดจากโครงการหลวงมาผ่านกระบวนการอบแห้งด้วยระบบสุญญากาศ ที่ความดันประมาณ 5-60 มิลลิเมตรปรอท ร่วมกับการใช้คลื่นไมโครเวฟ ทำให้เกิดความร้อนจากโมเลกุลน้ำที่อยู่ภายใน ส่งผลให้อัตราการอบแห้งสูงขึ้น ใช้เวลาสั้นลงและยังคงคุณค่าของสารอาหาร  ส่วนรสชาติคล้ายคลึงกับผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการอบแห้งแช่เยือกแข็ง รับประทานจำนวน 5 เม็ดจะเท่ากับการบริโภคผักสดประมาณ 150 กรัม



อันดับสอง คือ “ฟีนพลัส” หมึกนำไฟฟ้าผสมแกรฟีนสำหรับผลิตลายไฟฟ้า ของบริษัท อินโนฟิน จำกัด ซึ่งร่วมสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในการพัฒนาเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตหมึกนำไฟฟ้าผสมแกรฟีนบริสุทธิ์ ที่มีต้นทุนต่ำ สามารถผสานวัสดุแกรฟีน เข้าไปในพอลิเมอร์นำไฟฟ้าได้ในขั้นตอนเดียว ซึ่งทำให้สามารถผลิตหมึกที่มีคุณภาพและราคาต่ำลง สามารถนำไฟฟ้าได้ดี เกิดความต้านทานไฟฟ้าที่ต่ำ เป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ


อันดับที่สาม คือ “ซินนิไฟร์” เครื่องอบแห้งผลิตภัณฑ์เซรามิกด้วยก๊าซเชื้อเพลิงสังเคราะห์ ของบริษัท อิมพีเรียลพอทเทอรี่ จำกัด ซึ่งเกิดจากแนวคิดที่จะใช้เทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชัน จากชีวมวลทดแทนก๊าซหุงต้มที่มีราคาสูงขึ้นในกระบวนการผลิตพิมพ์ปูนปลาสเตอร์ กระบวนการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ และกระบวนการเผาบิสกิต ซึ่งใช้อุณหภูมิไม่สูงมากนัก จนได้ผลิตภัณฑ์เครื่องอบแห้งผลิตภัณฑ์เซรามิกด้วยก๊าซเชื้อเพลิงสังเคราะห์ที่ประหยัดพลังงาน


อันดับที่สี่ คือ “เอนเนอเร่ซ์” เครื่องดื่มให้พลังงานจากข้าว ของบริษัท บีเอสซีเอ็มฟูดส์ จำกัด ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่นำข้าวเปลือกที่ผ่านการงอก มากะเทาะเปลือกออก แล้วนำมาผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงเป็นน้ำตาลกลูโคสด้วยการใช้เอนไซม์ หลังจากนั้นนำมาพัฒนาสูตรที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มให้พลังงาน และมีการผสมกัวร่านา ซึ่งเป็นพืชที่มีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้พลังงาน 90 กิโลแคลอรี่ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวสารเกรด เอ กิโลกรัมละ 30 บาท ให้สูงขึ้นประมาณ 10 เท่า


ส่วนอันดับที่ห้า คือ “โดรน” เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังใบหู ของบริษัท ศูนย์การได้ยินดีเมด จำกัดอาศัยเทคโนโลยีการประมวลผลแบบดิจิทัล ในการออกแบบระบบแปลงสัญญาณจากเสียงปกติให้เป็นระบบดิจิทัล และพัฒนาโปรแกรมให้สามารถขจัดเสียงรบกวนจากภายนอก และแยกแยะระดับความถี่ของเสียงที่ได้รับเพื่อเพิ่มความดังที่เหมาะสมกับความผิดปกติในการได้ยินของแต่ละบุคค 

อันดับที่หก    คือ “ชีวาดี” น้ำหวานดัชนีน้ำตาลต่ำจากดอกมะพร้าวอินทรีย์ จากบริษัท ชีวาดี โปรดักส์ จำกัด เป็นน้ำหวานที่มีน้ำตาลต่ำ เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน


อันดับที่เจ็ด คือ “ไอริส” กระเบื้องเคลือบผลึกจากเศษกระจกรีไซเคิล ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ไอริส อินดัสเทรียล ที่มีการพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตกระเบื้องให้สามารถใช้เศษกระจก ทั้งในส่วนของเนื้อกระเบื้องและสูตรสารเคลือบผลึก สามารถลดอุณหภูมิในการเผา การเคลือบผลึกจะมีความหนาเกิดเป็นมิติของแสงและสีสวยงาม


สำหรับอันดับที่แปดคือ “บีที ไฮบริด” สารชีวภัณฑ์ประสิทธิภาพสูงสำหรับกำจัด หนอนศัตรูพืชของบริษัท ภูธนเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด ที่สามารถควบคุมหนอนศัตรูพืชได้ในวงกว้าง ช่วยลดปริมาณการใช้สารฆ่าแมลง และ ลดปริมาณการนำเข้าสารชีวภัณฑ์กลุ่มเชื้อบีทีในรูปแบบต่าง ๆ จากต่างประเทศได้


อันดับที่เก้า คือ “ซิลค์ แอคเน่” ผลิตภัณฑ์ลดการอักเสบจากโปรตีนไหม จากบริษัท เอทิกา จำกัด ที่นำรังไหมมาผ่านกระบวนการสกัดด้วยน้ำโดยใช้ความร้อนภายใต้ความดันและสภาวะที่เหมาะสม เพื่อให้ได้กาวไหมเซริซินที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มการสร้างคอลลาเจนและยับยั้งการสร้างสารตัวกลางอักเสบ เพื่อใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ลดการอักเสบอันเนื่องจากรอยสิว แมลงกัดต่อย และอื่น ๆ

 
และอันดับที่สิบ คือ “แดรี่โฮม” บรรจุภัณฑ์โยเกิร์ตอินทรีย์จากพลาสติกชีวภาพของบริษัท แดรี่โฮม จำกัด เป็นผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์โยเกิร์ตอินทรีย์ที่แตกสลายทางชีวภาพได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ธุรกิจนวัตกรรมทั้ง 10 ผลงาน ถือเป็นตัวอย่างความสำเร็จในการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมของประเทศไทยที่สามารถสร้างให้เกิดรายได้รวมให้แก่ประเทศ และเป็นอีกแรงกระตุ้นให้ผู้ประกอบการไทยเกิดความตระหนักในความสำคัญของการทำธุรกิจนวัตกรรมเพิ่มมากขึ้น.


อ้างอิง : www.nia.or.th

วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การนำ PDCA มาใช้ในการปฏิบัติงาน

การนำ PDCA มาใช้ในการปฏิบัติงาน

         การนำ PDCA cycle มาใช้ในกระบวนการปฏิบัติงานจะทำอย่างไรเพื่อให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพ ทำอย่างไรให้บุคลากรในองค์กรมีความเข้าใจและตระหนักในการนำ PDCA cycle มาใช้ขับเคลื่อนสำหรับการปฏิบัติงานของตน ดังนั้นจึงขออธิบายนิยามของ PDCA cycle ดังรายละเอียดต่อไปนี้                          
  • P ( Plan) P = Priority & Purpose & Plan                          
  • D ( Do) D = DO = Directing & Organizing                          
  • C (Check) C = Check & Control & Continue                          
  • A ( Act ) A = Adjust plan & Action to improvement
 
1. P คือ การวางแผน (Plan) การทำงาน ซึ่งเราต้องรู้ว่า เราจะให้ใครทำ (Who) ทำอะไร (What) ทำที่ไหน (Where) ทำเมื่อไหร่ & มีเวลาเท่าไหร่ (When) ทำอย่างไร (How) ภายใต้งบประมาณเท่าไหร่ (How much) ให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Purpose)
ปัญหา มันเริ่มต้นจาก คน 1 คน ไม่ได้มีงานเดียว ทุกๆ คน มีทั้งงานด่วน งานแทรก งานของหัวหน้า งานของเพื่อน สารพัดงานที่มะรุมมะตุ้มกันเข้ามา และที่วุ่นวายมากขึ้นไปอีก ก็คือ หากองค์กรนั้นมีหลายนาย ซึ่งแต่ละนาย ก็สุดที่จะเอาแต่ใจตัวเอง เอาใจไม่ถูก ดังนั้นคนทำงานจึงเริ่มรวน ไม่รู้จะทำงานไหนก่อน พอจะเริ่มทำงานนั้น เอ้า ผู้ร่วมงานถูกดึงไปทำอย่างอื่น งาน รันต่อไม่ได้ พอทำงานหนึ่งเสร็จ เอ้า เวลาไม่พอที่จะทำงานถัดไป ต้องปรับ How (ปรับวิธีการ) อีกแล้ว แต่การปรับ How แบบเหลือเวลาทำงานน้อย ๆ มักจะทำได้ยาก สุดท้ายทีมงานก็ต้องวกกลับมาปรึกษาหัวหน้าทีมอีกครั้ง สำหรับปัญหาเหล่านี้ หากจะแก้ ต้องทำให้ความผันผวนของการดำเนินตามแผนงานมีให้น้อยลง ซึ่งคนที่เป็นหัวหน้าทีม จำเป็นต้อง Priority งานทุกๆ งาน ต้องกำหนดเป้าหมาย (Purpose) ของแต่ละงานไว้ชัดเจน แล้วจึงทำการวางแผนงาน (Plan) และหากต้องการให้ทีมงานปรับตัวได้เร็ว หัวหน้าทีมจะต้องสอน (Coaching) วิธีคิดให้กับทีมงานด้วย ในขณะเดียวกัน หัวหน้าทีมต้องปรับแผนงานเร็ว เพื่อที่จะได้นำพาทีมงาน ทำงานให้สามารถบรรลุเป้าหมายขององค์กรได้
 
2. D คือ การลงมือทำ (Do)ปัญหา มันเริ่มต้นจากความไม่ชัดเจนของหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น แม้ว่าตอนวางแผน จะบอกว่า ให้ใครทำ ให้ฝ่ายไหนทำบ้าง แต่ไม่ได้ระบุไปว่าใครเป็นเจ้าภาพหลัก ทำให้ทีมงานเกี่ยงงานกันได้ง่าย ยิ่งหากไม่ชอบขี้หน้ากันด้วยแล้ว งานยิ่งไม่เดินเลย หรือ ในตอนวางแผนบอกว่า จะต้องใช้อุปกรณ์แบบนี้ เท่านี้ แต่พอทำจริง ปริมาณไม่พอใช้ เพราะตอนวางแผน มองว่างบประมาณไม่พอเลยตัดโน่น ตัดนี่จนความเป็นจริง เกิดความไม่เพียงพอต่อการทำงาน ดังนั้น การแก้ปัญหาเหล่านี้ สิ่งที่ต้องทำในฐานะหัวหน้าทีมงาน ก็คือ การระมัดระวังในการนำทีม (Directing) ซึ่งจะเกี่ยวข้อง กับเรื่อง วิธีการสื่อสาร (Communication) การจูงใจให้ทีมงานอยากทำงาน (Motivation) และหัวหน้าทีมยังต้องทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา (Consulting) ให้กับทีมงานด้วย รวมถึง ต้องมีการจัดกำลังคน และจัดเตรียมทรัพยากรให้เพียงพอต่อการดำเนินงาน (Organizing) ให้ดี ก่อนที่จะดำเนินการลงมือทำ (Do)
 
3. C คือ การตรวจสอบ งาน (Check)ปัญหา มันเริ่มต้นจาก การตรวจสอบนั้นทำได้ง่าย แต่การนำข้อมูลที่ตรวจสอบไปใช้ ควบคุม การทำงานของส่วนงานนั้นๆ มักเป็นไปอย่างเชื่องช้า หรือ ไม่ได้นำไปใช้เลย และเมื่อเวลาผ่านไป พนักงานจะมองว่า การตรวจสอบของเขานั้น ไม่เห็นมีความจำเป็นต้องทำเลย ไม่นานพวกเขาก็จะเลิกทำการตรวจสอบงาน ดังนั้นแนวทางแก้ไข คือ หัวหน้าทีมงาน จะต้องเป็นผู้รับรู้ผลของการตรวจสอบงาน (Check) ของส่วนงานในสังกัดทั้งหมด เพื่อจะได้ทำการ เป็นผู้ประสานงาน (Coordinator) นำข้อมูล ไปใช้ในการควบคุม ( Control ) ให้ผลงานเป็นตามแผน และหัวหน้างานยังจำเป็นต้องดำเนินการ ติดตาม การตรวจสอบงาน และควบคุมผลงาน อย่าง ต่อเนื่อง (Continue) สม่ำเสมอ เพื่อทำให้ทีมงาน เห็นถึงความสำคัญของงาน
 
4. A คือ การปรับปรุง แก้ไข งานให้ดีขึ้น (Act)ปัญหา คือ ในกรณีที่ผลงานออกมาไม่ได้ตามเป้าหมาย ก็ไม่มีใครทำอะไรต่อ และยิ่งงานได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ พนักงานก็จะทำเหมือนเดิม ซึ่งทำให้องค์กรไม่พัฒนา ดังนั้นแนวทางแก้ไข คือ กรณีที่ทำงานไม่ได้เป้าหมาย หัวหน้าทีมงาน จะต้องทำการปรับแผนงาน (Adjust plan) โดยเน้นในประเด็นวิธีการ (How) และในกรณีที่ทำได้ตามแผนที่กำหนดไว้ หัวหน้าทีมงาน จำเป็นที่จะต้องทำการ สั่งการ (Command) ให้ทุกฝ่าย ตั้งเป้าหมายให้สูงขึ้น เพื่อที่องค์กรจะได้พัฒนาต่อไปไม่สิ้นสุด (Action to improvement)
ที่มา : http://www.nano.kmitl.ac.th/index.php/assurance/478-pdca.html